หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในงาน
อินโฟกราฟิก(Infographic)
การเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในงาน
อินโฟกราฟิก(Infographic)
📚กระบวนการที่ดีในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic)📚
Hyperakt’s Josh Smith ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้ค้นพบกระบวนการที่ดีในการออกแบบ อินโฟกราฟิก (Infographic) 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1. การรวบรวมข้อมูล (Gathering data)
คัดเลือกข้อมูลดิบที่รวบรวมมา แต่ยังไม่เป็นระเบียบโดยอาจใช้โปรแกรม Microsoft Excelเขียนแหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่เป็นต้นฉบับบันทึกภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายไม่ควรแยกภาพหรือแผนภาพกับข้อมูลออกจากกัน
2. การอ่านข้อมูลทั้งหมด (Reading everything)
การอ่านข้อมูลเฉพาะจุดเน้น หรืออ่านอย่างผิวเผิน ให้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพราะคิดว่าเสียเวลาจะทำให้ได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ข้อมูลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของประเด็นสำคัญ
3. การค้นหาวิธีการเล่าเรื่อง (Finding the narrative)
อินโฟกราฟิกเริ่มที่จุดมุ่งหมายเดียว ขยายความข้อมูลที่ซับซ้อนอธิบายกระบวนการ เน้นที่แนวโน้มหรือสนับสนุนข้อโต้แย้งการหาวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจอาจจะยุ่งยากในระยะแรกถ้าเราคุ้นเคยกับข้อมูลที่มีอยู่จะทำให้สามารถเล่าเรื่องราวได้การใส่ใจกับเนื้อหาที่สำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีคุณค่า
4. การระบุปัญหาและความต้องการ (Identifying problems)
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว นำมาตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีข้อมูลที่ไม่สนับสนุนหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการนำเสนอ
ควรมีการอภิปรายหาข้อสรุปที่แท้จริงเพื่อระบุปัญหาและความต้องการ ปรับปรุงข้อมูลและเรื่องราว ให้มีเอกลักษณ์ตรงกับหัวข้อศึกษา
5. การจัดลำดับโครงสร้างข้อมูล (Creating a hierarchy)
การจัดลำดับชั้นของข้อมูลเป็นที่นิยมในการสรุปข้อมูลเป็นการนำผู้ชมให้มองเห็นภาพรวมตั้งแต่ต้นจนจบเป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลในการสร้างอินโฟกราฟิกตามโครงสร้างลำดับชั้นของข้อมูล
6. การออกแบบโครงสร้างข้อมูล (Building a wireframe)
เมื่อพิจารณาตรวจสอบคัดเลือกข้อมูลอย่างละเอียดแล้วจัดแบ่งข้อมูลเป็นลำดับชั้น และออกแบบโครงสร้างของของข้อมูลผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจกับภาพหรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลสำคัญที่จัดไว้เป็นลำดับชั้น
7. การเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Choosing a format)
เมื่อสิ้นสุดการกำหนดภาพ หรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแล้ว ในลำดับถัดไปจะต้องเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหา อินโฟกราฟิกที่นิยมใช้งานมีทั้งหมด 9 รูปแบบ
8. การกำหนดภาพให้ตรงกับหัวข้อ (Determining a visual approach)
ไม่ควรติดยึดกับวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ควรผสมผสานวิธีการใช้กราฟ แผนภาพ และแผนผังตกแต่งองค์ประกอบด้วยการวาดลายเส้นหรือนำภาพที่เป็นตัวแทนของข้อมูลมาจัดวางซ้อนกัน อาจเสริมด้วยข้อมูลสื่อ ตราสัญลักษณ์ และเนื้อหาในการออกแบบให้ตรงกับหัวข้อ
9. การตรวจสอบข้อมูลและทดลองใช้ (Refinement and testing)
ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดทั้งข้อมูลและภาพที่ใช้ประกอบเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่เสร็จแล้วมีคุณภาพตรงกับหัวข้อและเป้าหมาย
10. การแบ่งปันความรู้ในอินเทอร์เน็ต (Releasing it into the world)
เผยแพร่ผลงานบนอินเทอร์เน็ต หรือ ช่องทางอื่น ๆที่เหมาะสม ติดตาม และ ตรวจสอบ ข้อคิดเห็นต่าง ๆเพื่อนำมาพัฒนางาน การวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จะช่วยขยายข้อโต้แย้งและค้นพบวิธีการนำเสนอข้อมูลวิธีใหม่ได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์ https://www.facebook.com/KidsCanCodeTH